วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีขยายพันธุ์มะคาเดเมีย

วิธีขยายพันธุ์ มะคาเดเมียมี 3 วิธีที่นิยมโดยทั่วไปได้แก่ การทาบกิ่ง การติดตาและการเสียบยอดจะเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับความความชำนาญความต้องการของผู้ปลูกและความเหมาะสม มีทั้งข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไปการขยายพันธุ์ทั้ง 3 วิธี จำเป็นต้องใช้ต้นตอมะคาเดเมียที่เพาะจากเมล็ดมาทำต้นตอวิธีขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตาในบ้านเราจไม่ค่อยนิยมทำกันเพราะอัตราการติดมีเปอร์เซ็นต์น้อยมากอาจจะขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อไม้เปลือกไม้ช่วงเวลาและความชำนาญจะใช้วิธีนี้เฉพาะกรณีนำพันธุ์มะคาเดเมียพันธุ์ดีที่มาจากต่างประเทศหรือกิ่งพันธุ์ดีมีน้อยจำเป็นต้องขยายให้มีจำนวนมาก

ในต่างประเทศมะคาเดเมียที่นิยมใช้ทำต้นตอดั้งเดิมเป็นพวกชนิดเมล็ดผิวขรุขระ ที่มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็วและแข็งแรง ตอต้นกล้าสามารถใช้ทาบได้เร็วกว่าตอต้นกล้าชนิดเมล็ดผิวเรียบ ถึง 6 เดือน หลังจากเสียบยอดแล้วต้นจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ผลเร็วกว่าต้นตอชนิดเมล็ดผิวเรียบถึง 2 ปี รากของต้นตอชนิดผิวขรุขระยังมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีกว่าชนิดเมล็ดผิวเรียบ และอ่อนแอเพียงเล็กน้อยต่อเชื้อรา Phytophthora cinnamomi ที่เป็นสาเหตุของโรครากและโคนต้นเน่า และเชื้อ Dethiorella gregaria ซึ่งเป็นสาเหตุโรคแคงเกอร์กับกิ่งของมะคาเดเมีย ชาวออสเตรเลียศึกษาพบว่าต้นมะคาเดเมียที่ใช้ต้นตอชนิดเมล็ดผิวขรุขระ รอยต่อเข้ากันไม่ได้ต้นพันธุ์ดีเจริญเร็วกว่าต้นตอ (Hamilton, 1988 และ Bittenbender, 1990) ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดรอยแตกหักหรือเปลือกฉีกได้ตรงบริเวณเหนือและใต้รอยต่อเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้รูปทรงต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งปัจจุบันในฮาวายและออสเตรเลียจะใช้พันธุ์ Hinde (H2) หรือ Renown (D4) ใช้ทำต้นตอจากเมล็ดมะคาเดเมียชนิดผิวเรียบ (smooth shell type) ซึ่งเป็นชนิดที่ปลูกเป็นการค้าสำหรับพันธุ์ที่ใช้เป็นต้นตอ ในประเทศไทยจากการศึกษาการเจริญเติบโตของลำต้นและระบบรากของต้นตอพบว่า พันธุ์ H2 344 OC และพันธุ์ เชียงใหม่ 700 (HAES 741) ระบบรากมีการเจริญเติบโตได้ดีและรากแผ่กว้าง ปัจจุบันใช้พันธุ์ H2 เป็นหลักในการทำเป็นต้นตอในประเทศไทย


by : โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น