วันศุกร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2553

การปลูกมะคาเดเมีย

ระยะปลูกระหว่างต้น - แถว 8x10 เมตร และปลูกพืชแซมในระหว่างแถวช่อง 10-12 ปีแรก ได้แก่ กาแฟ , สตรอเบอรี่, ผัก เป็นต้น ขนาด
หลุม75 x 75 x 75 เซนติเมตร หรือ 1 x 1 x 1 เมตร ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ ของดินรองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟตหลุมละ 1-2 กิโลกรัม และใช้ปุ๋ยคอก
ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น เศษซากพืชแห้ง แกลบหรือปุ๋ยหมัก คลุกเคล้ากับดิน

การใส่ปุ๋ย
ใช้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 , 12-12-17-2 และยูเรียโดยปีที่ 1,2,3 และ 4 ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละ 400 , 800, 1,200 และ 1,800 กรัม และผสมยูเรีย 45, 90,
135 และ 180 กรัม ตามลำดับ ส่วนปีที่ 5 เป็นต้นไป ใช้ปุ๋ยสูตร 12-12-17-2 หรือ 13-13-21 อัตรา ต้นละ 2.5 กิโลกรัม และเพิ่มขึ้นปีละ 500 - 600 กรัม
และผสมยูเรียเพิ่ม 10 เปอร์เซ็นต์ และโปแตสเซียม 15% ของปุ๋ยสูตร ทุกปี ปุ๋ยแห่งใส่ปีละ 4 ครั้ง คือ ช่วง 3 เดือน ก่อนออกดอก (ต.ค.-พ.ย.) ระยะติด
ผลขนาดเล็ก ระยะต้นฝน และปลายฝน

การให้น้ำ
ควรให้น้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง ระยะติดผลและผลกำลังพัฒนาไม่ควรขาดน้ำ




by : โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร

วันศุกร์ที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2553

วิธีขยายพันธุ์มะคาเดเมีย

วิธีขยายพันธุ์ มะคาเดเมียมี 3 วิธีที่นิยมโดยทั่วไปได้แก่ การทาบกิ่ง การติดตาและการเสียบยอดจะเลือกใช้วิธีไหนก็ได้ขึ้นอยู่กับความความชำนาญความต้องการของผู้ปลูกและความเหมาะสม มีทั้งข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันไปการขยายพันธุ์ทั้ง 3 วิธี จำเป็นต้องใช้ต้นตอมะคาเดเมียที่เพาะจากเมล็ดมาทำต้นตอวิธีขยายพันธุ์ด้วยวิธีติดตาในบ้านเราจไม่ค่อยนิยมทำกันเพราะอัตราการติดมีเปอร์เซ็นต์น้อยมากอาจจะขึ้นอยู่กับชนิดของเนื้อไม้เปลือกไม้ช่วงเวลาและความชำนาญจะใช้วิธีนี้เฉพาะกรณีนำพันธุ์มะคาเดเมียพันธุ์ดีที่มาจากต่างประเทศหรือกิ่งพันธุ์ดีมีน้อยจำเป็นต้องขยายให้มีจำนวนมาก

ในต่างประเทศมะคาเดเมียที่นิยมใช้ทำต้นตอดั้งเดิมเป็นพวกชนิดเมล็ดผิวขรุขระ ที่มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็วและแข็งแรง ตอต้นกล้าสามารถใช้ทาบได้เร็วกว่าตอต้นกล้าชนิดเมล็ดผิวเรียบ ถึง 6 เดือน หลังจากเสียบยอดแล้วต้นจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและให้ผลเร็วกว่าต้นตอชนิดเมล็ดผิวเรียบถึง 2 ปี รากของต้นตอชนิดผิวขรุขระยังมีประสิทธิภาพในการดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีกว่าชนิดเมล็ดผิวเรียบ และอ่อนแอเพียงเล็กน้อยต่อเชื้อรา Phytophthora cinnamomi ที่เป็นสาเหตุของโรครากและโคนต้นเน่า และเชื้อ Dethiorella gregaria ซึ่งเป็นสาเหตุโรคแคงเกอร์กับกิ่งของมะคาเดเมีย ชาวออสเตรเลียศึกษาพบว่าต้นมะคาเดเมียที่ใช้ต้นตอชนิดเมล็ดผิวขรุขระ รอยต่อเข้ากันไม่ได้ต้นพันธุ์ดีเจริญเร็วกว่าต้นตอ (Hamilton, 1988 และ Bittenbender, 1990) ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เกิดรอยแตกหักหรือเปลือกฉีกได้ตรงบริเวณเหนือและใต้รอยต่อเมื่ออายุมากขึ้น ทำให้รูปทรงต้นไม่สม่ำเสมอ ซึ่งปัจจุบันในฮาวายและออสเตรเลียจะใช้พันธุ์ Hinde (H2) หรือ Renown (D4) ใช้ทำต้นตอจากเมล็ดมะคาเดเมียชนิดผิวเรียบ (smooth shell type) ซึ่งเป็นชนิดที่ปลูกเป็นการค้าสำหรับพันธุ์ที่ใช้เป็นต้นตอ ในประเทศไทยจากการศึกษาการเจริญเติบโตของลำต้นและระบบรากของต้นตอพบว่า พันธุ์ H2 344 OC และพันธุ์ เชียงใหม่ 700 (HAES 741) ระบบรากมีการเจริญเติบโตได้ดีและรากแผ่กว้าง ปัจจุบันใช้พันธุ์ H2 เป็นหลักในการทำเป็นต้นตอในประเทศไทย


by : โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร

วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สภาพอากาศทีเหมาะสำหรับปลูกมะคาเดเมีย


มะคาเดเมียปลูกได้ดีในแหล่งที่มีอากาศหนาวเย็นของไทย
มะคาเดเมีย (macadamia) เป็นพืชที่มีอยู่รวม 10 ชนิด ทั้งนี้ จำนวน 6 ชนิด มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศออสเตรเลีย หนึ่งชนิดพบอยู่ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และอีก 3 ชนิด พบอยู่ที่หมู่เกาะนิวคาลิโดเนีย ในแถบเดียวกับประเทศปาปัวนิวกินี ชนิด หรือ species ที่ใช้บริโภคได้มีเพียง 2 ชนิด พบอยู่ในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น ชนิดแรกมีผิวกะลาเรียบและชนิดที่สองมีผิวกะลาหยาบขรุขระ ในปี พ.. 2524 มีชายหนุ่มชาวสกอตแลนด์ได้นำมะคาเดเมียชนิดผิวกะลาเรียบไปปลูกที่รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.. 2465 เริ่มมีการปลูกมะคาเดเมียเพื่อเป็นการค้าขึ้นในออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยมีการนำมาปลูกทดลองเมื่อปี พ.. 2496 ด้วยความช่วยเหลือขององค์การยูซอม ของสหรัฐอเมริกา โดยกรมกสิกรรม ในขณะนั้น ก่อนรวมกับกรมการข้าว ยกระดับขึ้นเป็น กรมวิชาการเกษตร ได้นำพันธุ์ไปปลูกที่สถานีทดลองกสิกรรมในภาคเหนือหลายแห่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในปี 2527 มีการนำกิ่งพันธุ์และเมล็ดพันธุ์มะคาเดเมีย จำนวน 8 สายพันธุ์ จากรัฐฮาวาย ไปทดลองปลูกที่สถานีทดลองเกษตรที่สูง วาวี จังหวัดเชียงราย สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานีทดลองเกษตรที่สูง ภูเรือ จังหวัดเลย ปัจจุบันสถานีทดลองทั้ง 3 แห่ง สามารถกระจายพันธุ์ให้กับเกษตรกรผู้สนใจเฉลี่ยปีละประมาณ 40,000 ต้นเป็นพืชต้องการอุณหภูมิต่ำสุดที่ 9 องศาเซลเซียส และสูงสุดไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส จะกระตุ้นให้มะคาเดเมียออกดอกได้ดีที่สุด ในประเทศไทยที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 800-1,300 เมตร ซึ่งมีอุณหภูมิในระดับที่พอเหมาะกับมะคาเดเมีย นอกจากนี้ ยังต้องการปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร ทั้งนี้ ปริมาณฝนจะขาดหายไปในช่วงฤดูแล้ง ในระยะดังกล่าวต้องมีการให้น้ำบ้าง มิเช่นนั้นผลมะคาเดเมียจะมีขนาดเล็กลง การปลูกไม้กันลม เช่น สนอินเดีย ไผ่ตง หรือไผ่ลวก จะช่วยลดกิ่งฉีกขาด หรือต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมพัดแรง มะคาเดเมียต้องการดินอุดมสมบูรณ์และร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดด่าง 5.6-6.0 จากผลการทดลองมาเป็นเวลานานพบว่า ปลูกได้ผลดีที่ดอยมูเซอ จังหวัดตาก เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และภูเรือ จังหวัดเลย พันธุ์ที่ปลูกได้ดีในประเทศไทย มีดังนี้ พันธุ์นัมเบอร์ 788 มีทรงต้นเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวปานกลาง เมื่ออายุ 10 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 21 กิโลกรัม ต่อต้น ผลค่อนข้างใหญ่ เฉลี่ย 141 ผล ต่อหนึ่งกิโลกรัม หลังกะเทาะกะลาออกแล้วได้น้ำหนักเนื้อผล 37-40 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์นัมเบอร์ 856 มีลักษณะ ใบกว้างสีเขียวเข้ม ขอบใบมีหนามแหลมและแข็ง ผลค่อนข้างเล็ก เฉลี่ย 174 ผล ต่อกิโลกรัม ข้อเสียคือมีกะลาค่อนข้างหนา และให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ จึงแนะนำให้ปลูกเพื่อนำละอองเกสรตัวผู้ไปใช้ในการผสมพันธุ์เท่านั้น และ พันธุ์นัมเบอร์ 915 เป็นพันธุ์ที่ทนต่อลมพัดแรง และความแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ อีกทั้งให้เปอร์เซ็นต์กะเทาะเนื้อผลสูงถึง 36-40 เปอร์เซ็นต์ ใบมีสีเขียวเกือบตลอดปี และให้ผลผลิตได้ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 700 เมตร เท่านั้น สิ่งสำคัญคือ ติดผลดกและผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เฉลี่ย 134 ผล ต่อกิโลกรัม


by : โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร

วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

พันธุ์มะคาเดเมียที่นิยมปลูกในประเทศไทย



ปัจจุบันพันธุ์
มะคาเดเมียที่ให้ผลผลิตมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานสากลและเหมาะสมสำหรับปลูกในประเทศไทย
1. พันธุ์เชียงใหม่ 400 (HAES 660) เป็นพันธุ์เบา ออกดอกดก ใช้ปลูกร่วมกับพันธุ์อื่นเพื่อช่วยผสมเกสร ข้อเสียคือขนาดเมล็ดเล็กกว่าพันธุ์อื่น ผลผลิตเมล็ดทั้งกะลาต่อต้น(อายุ 11 ปี) 11-17 กิโลกรัม เจริบเติบโตได้ดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร ขึ้นไป ถ้าพื้นที่ต่ำ 400-600 เมตร ควรอยู่เหนือเส้นละติจูด 19.8 องศาเหนือ
2. พันธุ์เชียงใหม่ 700 (HAES 741) ผลขนาดค่อนข้างใหญ่ เนื้อในน้ำหนักมาก สีขาวสวยเจริญเติบโตดี ให้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเล 700 เมตร ขึ้นไป ผลผลิตเมล็ด
ทั้งกะลาต่อต้น (อายุ 11 ปี) 13-21 กิโลกรัม
3. พันธุ์เชียงใหม่ 1000 (HAES 508) ผลขนาดปานกลาง เนื้อในมีคุณภาพยอดเยี่ยม รูปร่างและสีสวย เจริญเติบโตดี และให้ผลผลิตสูงที่ระดับความสูง 1000 เมตร ขึ้นไป ผลผลิตเมล็ดทั้งกะลาต่อต้น (อายุ 11 ปี) 21-33 กิโลกรัม

by : โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร

วันเสาร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ประวัติมะคาเดเมียนัท


ประวัติมะคาเดเมีย
สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ โดย คุณเสงี่ยม แจ่มจำรูญ และคณะ ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับมะคาเดเมียไว้เมื่อปี 2541 นักพฤกษศาสตร์ชาวเยอรมัน ชื่อ Friedrich Wilhelm Ludwig Leichhardt ค้นพบ มะคาเดเมียครั้งแรกเมื่อปีค.ศ. 1843 ที่ประเทศออสเตรเลีย บริเวณอ่าวมอร์ตัน ใกล้ ๆ กับเมืองบริสเบน รัฐควีนส์แลนด์ หลังจากตค้นพบแล้วก็ไม่ได้อะไรนอกจากเก็บตัวอย่างพืชไว้ในพิพิธภัณฑ์พืช (Herbarium) ของสวนพฤกษศาสตร์ เมืองเมลเบิร์น รัฐวิคตอเรียต่อมาในปี ค.ศ. 1857 Boron Sir Ferdinand Jacob Heinrich von Mueller ชาวเยอรมันอีกเช่นกัน ร่วมกับ นาย Walter Hill ชาวสก็อตผู้อำนวยการสวนพฤกษศาสตร์ของเมืองบริสเบนได้สำรวจพบมะคาเดเมียบริเวณแม่น้ำไพน์ อ่าวมอร์ตัน รัฐควีนส์แลนด์ เป็นมะคาเดเมียแบบผลเล็ก Sir Mueller จึงได้ขอจดทะเบียมะคาเดเมียที่พบนี้เป็นพืชสกุลใหม่ชื่อว่า "Macadamia" เพื่อเป็นเกียรติแก่เพื่อนสนิทที่เคารพรักใคร่ คือ ดร.John Macadam ซึ่งเป็นอาจารย์สอนวิชาเคมีอยู่ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น Sir muellerr และนาย Walter Hill จึงถือว่ากันว่าเป็นผู้ค้นพบมะคาเดเมียที่แท้จริง เพราะพบแล้วไปขอจดทะเบียนระบุชื่อเป็นหลักฐานแม้จะมีการค้นพบมะคาเดเมียในออสเตรเลีย แต่ก็มิได้มีใครสนใจจะขยายพันธุ์หรือปลูกในเชิงการค้า จนกระทั่งปี ค.ศ. 1881 นาย William Herbert Purvis ชาวสก็อตที่ไปทำงานที่โรงงานน้ำตาลที่เกาะฮาวาย ได้นำมะคาเดเมียชนิดผลผิวเรียบจากออสเตรเลียไปทดลองปลูกที่ฮาวาย ว่ากันอีกว่า มะคาเดเมียชุดแรกที่นำไปจากออสเตรเลีย ไปปลูกที่ฮาวายนั้นขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่ อายุเห็นที่จะปาเข้าไปเกือบ 120 ปีแล้ว แหล่งข่าวกล่าวว่ายังให้ผลผลิตดียังมีอยู่ที่นำมะคาเดเมีย ชุดที่ 2 จากออสเตรเลีย มาปลูกที่ฮาวายอีก เมื่อปี ค.ศ. 1892 คือ นาย Edward Walter และ นาย Robert Alfred Jordan สองพี่น้องซึ่งนิยมพืชแปลก ๆมีผู้ยืนยันว่า มะคาเดเมียที่เข้ามาสู่ฮาวายทั้ง 2 ชุดนี้ ได้มีการนำมาขยายพันธุ์ปลูกกันจนทั่วทั้งหมู่เกาะฮาวาย ซึ่งมีอยู่ประมาณ 9 เกาะ แต่ที่มีการปลูกมากและมีความสำคัญทางการเกษตรและเศรษฐกิจ มีอยู่ 4 เกาะ คือ Kauai Oahu Maui และ Hawaii ต่อมาได้มีหน่วยงานของรัฐได้ส่งเสริมให้มีการปลูกมะคาเดเมียในลักษณะของการปลูกป่าพร้อมทั้งกระตุ้นให้ภาคเอกชนสนใจปลูกพืชชนิดนี้มากขึ้นโดยการบอกว่าจะยกเว้นภาษีที่ดินให้ และมีผู้ที่นำเมล็ดมะคาเดเมียมาหว่าน ตามทางเดินบนเทือกเขา แต่มะคาเดเมียที่ปลูกด้วยเมล็ดเหล่านี้สามารถคัดเลือกเป็นต้นพันธุ์ดีได้เพียง 1 ใน 10,000 ต้นเท่านั้น จึงเป็นอุทธาหรณ์ว่า การปลูกมะคาเดเมียไม่ควรปลูกด้วยเมล็ดเด็ดขาดอย่างไรก็ตามมีผู้ยืนยันอีกว่า ประวัติดั้งเดิของมะคาเดเมียจริง ๆ นั้น พบว่ามีทั้งหมด 10 ชนิด อยู่ในออสเตรเลีย 6 ชนิดอยู่ที่เกาะเซเลเบสแถวสุมาตรา อินดโนีเซีย 1 ชนิด อีก 3 ชนิด อยู่ในหมู่เกาะคาลเลโดเนียใหม่เป็นหมู่เกาะใกล้กับปาปัวนิวกินี แต่ในจำนวนนี้มีเพียง 2 ชนิดเท่านั้นที่นำมารับประทานเนื้อและเป็น 2 ชนิดที่อยู่ในออสเตรเลีย



by : โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร