วันอังคารที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สภาพอากาศทีเหมาะสำหรับปลูกมะคาเดเมีย


มะคาเดเมียปลูกได้ดีในแหล่งที่มีอากาศหนาวเย็นของไทย
มะคาเดเมีย (macadamia) เป็นพืชที่มีอยู่รวม 10 ชนิด ทั้งนี้ จำนวน 6 ชนิด มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศออสเตรเลีย หนึ่งชนิดพบอยู่ที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย และอีก 3 ชนิด พบอยู่ที่หมู่เกาะนิวคาลิโดเนีย ในแถบเดียวกับประเทศปาปัวนิวกินี ชนิด หรือ species ที่ใช้บริโภคได้มีเพียง 2 ชนิด พบอยู่ในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น ชนิดแรกมีผิวกะลาเรียบและชนิดที่สองมีผิวกะลาหยาบขรุขระ ในปี พ.. 2524 มีชายหนุ่มชาวสกอตแลนด์ได้นำมะคาเดเมียชนิดผิวกะลาเรียบไปปลูกที่รัฐฮาวาย สหรัฐอเมริกา ต่อมาในปี พ.. 2465 เริ่มมีการปลูกมะคาเดเมียเพื่อเป็นการค้าขึ้นในออสเตรเลีย ส่วนในประเทศไทยมีการนำมาปลูกทดลองเมื่อปี พ.. 2496 ด้วยความช่วยเหลือขององค์การยูซอม ของสหรัฐอเมริกา โดยกรมกสิกรรม ในขณะนั้น ก่อนรวมกับกรมการข้าว ยกระดับขึ้นเป็น กรมวิชาการเกษตร ได้นำพันธุ์ไปปลูกที่สถานีทดลองกสิกรรมในภาคเหนือหลายแห่ง แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาในปี 2527 มีการนำกิ่งพันธุ์และเมล็ดพันธุ์มะคาเดเมีย จำนวน 8 สายพันธุ์ จากรัฐฮาวาย ไปทดลองปลูกที่สถานีทดลองเกษตรที่สูง วาวี จังหวัดเชียงราย สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอนหลวง จังหวัดเชียงใหม่ และสถานีทดลองเกษตรที่สูง ภูเรือ จังหวัดเลย ปัจจุบันสถานีทดลองทั้ง 3 แห่ง สามารถกระจายพันธุ์ให้กับเกษตรกรผู้สนใจเฉลี่ยปีละประมาณ 40,000 ต้นเป็นพืชต้องการอุณหภูมิต่ำสุดที่ 9 องศาเซลเซียส และสูงสุดไม่เกิน 32 องศาเซลเซียส ที่อุณหภูมิ 18 องศาเซลเซียส จะกระตุ้นให้มะคาเดเมียออกดอกได้ดีที่สุด ในประเทศไทยที่ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางระหว่าง 800-1,300 เมตร ซึ่งมีอุณหภูมิในระดับที่พอเหมาะกับมะคาเดเมีย นอกจากนี้ ยังต้องการปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 1,000 มิลลิเมตร ทั้งนี้ ปริมาณฝนจะขาดหายไปในช่วงฤดูแล้ง ในระยะดังกล่าวต้องมีการให้น้ำบ้าง มิเช่นนั้นผลมะคาเดเมียจะมีขนาดเล็กลง การปลูกไม้กันลม เช่น สนอินเดีย ไผ่ตง หรือไผ่ลวก จะช่วยลดกิ่งฉีกขาด หรือต้นโค่นล้ม เมื่อมีลมพัดแรง มะคาเดเมียต้องการดินอุดมสมบูรณ์และร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี มีความเป็นกรดด่าง 5.6-6.0 จากผลการทดลองมาเป็นเวลานานพบว่า ปลูกได้ผลดีที่ดอยมูเซอ จังหวัดตาก เขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ และภูเรือ จังหวัดเลย พันธุ์ที่ปลูกได้ดีในประเทศไทย มีดังนี้ พันธุ์นัมเบอร์ 788 มีทรงต้นเป็นพุ่มกลม ใบสีเขียวปานกลาง เมื่ออายุ 10 ปี ให้ผลผลิตเฉลี่ย 21 กิโลกรัม ต่อต้น ผลค่อนข้างใหญ่ เฉลี่ย 141 ผล ต่อหนึ่งกิโลกรัม หลังกะเทาะกะลาออกแล้วได้น้ำหนักเนื้อผล 37-40 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์นัมเบอร์ 856 มีลักษณะ ใบกว้างสีเขียวเข้ม ขอบใบมีหนามแหลมและแข็ง ผลค่อนข้างเล็ก เฉลี่ย 174 ผล ต่อกิโลกรัม ข้อเสียคือมีกะลาค่อนข้างหนา และให้ผลผลิตไม่สม่ำเสมอ จึงแนะนำให้ปลูกเพื่อนำละอองเกสรตัวผู้ไปใช้ในการผสมพันธุ์เท่านั้น และ พันธุ์นัมเบอร์ 915 เป็นพันธุ์ที่ทนต่อลมพัดแรง และความแห้งแล้งได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ อีกทั้งให้เปอร์เซ็นต์กะเทาะเนื้อผลสูงถึง 36-40 เปอร์เซ็นต์ ใบมีสีเขียวเกือบตลอดปี และให้ผลผลิตได้ในระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลปานกลางเพียง 700 เมตร เท่านั้น สิ่งสำคัญคือ ติดผลดกและผลมีขนาดค่อนข้างใหญ่ เฉลี่ย 134 ผล ต่อกิโลกรัม


by : โครงการส่งเสริมการผลิตสินค้าเกษตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น